Kontakt / contact     Hauptseite / page
                principale / pagina principal / home     zurück / retour
                / indietro / atrás / back

   D - ENGL 

รายงานยอดเขาเอเวอเรสต์ 01: ภาพถ่ายจากเขตมรณะที่มียอดเขา+ใบหน้าเยือกแข็ง+นิ้วเท้า+ตาบอดหิมะ 
Mount Everest report 01: photos from the death zone with the peak+frozen face+toes+snowblindness

Montana Twinprai จากขอนแก่น (ประเทศไทย) อยู่บนยอดเขาเอเวอเรสต์ที่ความสูง 8848 เมตรเหนือระดับน้ําทะเล - เธอรอดชีวิตจากตาบอดและนิ้วเท้าแข็ง 
Montana Twinprai from Khon Kaen (Thailand) was on the Mount Everest at 8848 m above sea level - she survived blind and with frozen toes
 
จาก Montana Twinprai 2023

นําเสนอโดย Michael Palomino 2024

Share / แชร์:

Facebook








ยอดเขาเอเวอเรสต์ 24 มิถุนายน 2023: ภาพถ่ายจากเขตมรณะที่มียอดเขา+ใบหน้าที่เยือกแข็ง+นิ้วเท้า
ภาพจาก Montana Twinprai on Facebook: https://www.facebook.com/akaitori.xjapan
ลิงค์รูปภาพ: https://www.facebook.com/photo/?fbid=6896224763738468&set=pcb.6896362093724735
ลิงค์ภาพพีค ลิงก์


ความคิดเห็นโดย Montana:

 
เขาเอเวอเรสต์ (Everest) 2023 - ขุนเขายะเยือก

1. ข้อมูลและชื่อพื้นฐาน
ผ่านไปหนึ่งเดือนแล้วสำหรับฤดูกาลปีนเขาเอเวอเรสต์ปีนี้นะคะ แต่นางมัณฑนาเพิ่งจะมีเวลามานั่งเขียนเรื่องราวให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน อย่างแรกเลยต้องบอกว่าสำเร็จแล้วนะ ความฝัน ความหวัง ความตั้งใจ ที่พยายามทำมาตลอด 8 ปี ดิฉันเดินทางไปจนสุดทางเชือกแล้วที่เอเวอเรสต์
(ยาวมากนะคะ สรุปอยู่ตอนท้าย)
<ภูเขาเอเวอเรสต์คือภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลที่สุดในโลก คือ 8848.86 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล สูงประมาณระดับเครื่องบินพานิชบิน มีชื่อในภาษาถิ่นทิเบตคือโชโมลุงม่า ภาษาถิ่นเนปาล Sagarmāthā
<เมื่อ70 ปีที่แล้ว (29 พฤษภาคม 1953) ยอดเขาเอเวอเรสต์ถูกพิชิตโดยมนุษย์เป็นครั้งแรกโดย เซอร์ เอ็ดมันด์ ฮิลลารี่ ชาวนิวซีแลนด์ (Sir Edmund Percival Hillary) และ เทนซิง นอร์เกย์ ชาวเชอร์ปา (Tenzing Norgay)


2. ครั้งแรกของปี 2565 ยังไม่เสร็จ - และครั้งที่สองของปี 2566 นี่คือความสำเร็จ

<การปีนเขาเอเวอเรสต์นี้เป็นความพยายามครั้งที่สองของดิฉัน ครั้งแรกคือเมื่อปี 2022 ค่ะ เราขึ้นไปถึง 8217 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล และตัดสินใจกลับลงมารอที่ South Col เนื่องจากสภาพอากาศ (แต่เมื่อกลับลงมากลับเจอลมแรงระดับ Strong Gale, 47-54 mph) เป็นผลให้อาหาร high altitude เต๊นท์ของเรานึ่งหลังและอุปกรณ์ปีนปลิวไป ส่งผลให้การปีนต้องยุติลงในปีนั้น


ในปี 2023 ดิฉันได้เปลี่ยน strategy ในการปีน จากการจ้างไกด์เชอร์ปาอิสระมาเป็นบริการของบริษัทใหญ่ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย เช่นถ้าเราเกิดปัญหา จะมีเชอร์ปาในทีมมากขึ้น มีกระป๋องออกซิเจนสำรอง เป็นต้น

3. ปีนเขาครั้งแรกจากกาฐมา ณ ฑุ - ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2566

ดิฉันเดินทางถึงกาฐมาณฑุวันที่ 2 เมษายน เมืองหลวงแห่งนี้มีความสูงประมาณ 1300-1400 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ระดับความสูงแค่นี้ก็เหนื่อยแล้วนะคะ เราพักที่กาฐมาณฑุสองคืน พอให้หายเหนื่อยจากการเดินทาง
4 เมษายน พวกเราเดินทางจากกาฐมาณฑุไปนัมเชบาซ่า (3440 เมตร) โดยเฮลิคอปเตอร์ มีอาการปวดศีรษะเล็กน้อยและอ่อนเพลียจากความสูง หลังจากนั้นจึงเริ่มการเดินเท้าโดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม เลี้ยวขวาไปทางดิงโบเช (ทางค่อนข้างราบ) ดิฉัน เจ๊ชาวจีน และน้องหลิวเลี้ยวซ้ายไปลุมเด (ทางชันและขึ้นลงมากกว่า) ไกด์ก็พูดจีน ดิฉันก็ต้องปรับตัวพูดจีนงูๆ ปลาๆ 🤣 กลายเป็นทัวร์จีน ที่เราเลือกเส้นทางด้านซ้ายเพราะต้องการปรับตัวกับความสูง (acclimatization)
ทัวร์จีนของเราสนุกสนานมาก ทั้งได้ชิมเกี๊ยวน้ำแสนอร่อยแบบทิเบต ชมความงามข้ามช่องเขาเรนโจล่า (Renjo La Pass, 5360 m) และ ช่องเขาโชล่า (Chola pass 5420 m)
แล้วเราก็ไปปีนยอดเขาโลบุเชตะวันออก (Lobuche East, 6119 m) เพื่อเป็นการปรับตัวเข้ากับความสูง ภูเขาโลบุเชปีนสนุกมาก เหตุผลหนึ่งคือปีนร้หิมะตกหนัก ทำให้ slab หินด้านล่างปีนได้ง่ายขึ้น โดยไม่รู้เลยว่าหิมะหนานุ่มปีนี้จะเป็นสัญญาณของหายนะที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การปีนเขาเอเวอเรสต์!
<เส้นทางปีนโลบุเชมีทั้งผนังหินแนวตั้ง ส่วนธารน้ำแข็ง (แนวตั้ง) ปีนสนุกมากๆ


4. ค่ายฐาน - เขาเอเวอเรสต์ - Mount Everest - 5364 ม. - 3 Sherpas เสียชีวิต - การขาดแคลน Sherpa

แล้วเราก็เดินทางสู่เอเวอเรสต์ เบสแคมป์ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า EBC (Everest Base Camp) ซึ่งมีความสูงประมาณ 5364 เมตร ซึ่งแคมป์ของเราก็อยู่ห่างจากก้อนหินที่นิยมถ่ายรูปกันประมาณหนึ่งกิโลเมตรครึ่งตามทางราบ
Base Camp เป็นเสมือนความศิวิไลซ์สุดท้ายก่อนขึ้นสู่ทางปีน มีเต๊นท์ครัว เต๊นท์ห้องอาหาร หรือแม้แต่คาเฟ่ มีเครื่องปั่นไฟและแผงโซลาร์เซลล์ การใช้ชีวิตที่นี่สะดวกทีเดียวค่ะ มีห้องสุขาและห้องอาบน้ำด้วย
เอเวอเรสต์ เบสแคมป์ตั้งอยู่บนธารน้ำแข็งคุมบู ปัจจุบันมีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร
ด้วยปีนี้มีเชอร์ปาเสียชีวิต 3 คน ตั้งแต่ต้นฤดูจากธารน้ำแข็งคุมบูถล่ม (12 เมษายน) ทำให้เชิร์ปาหลายคนถอนตัวจากการปีนในปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มาจากหมู่บ้านเดียวกันกับเชอร์ปาที่เสียชีวิต ทำให้หลายบริษัทเกิดวิกฤตขาดแคลนเชอร์ปา (ชาวเชอร์ปาที่มาช่วยลูกค้าปีนเรียกว่า Climbing Sherpa, เรียกสั้นๆ เชอร์ปา)
มีสมาชิกนานาชาติมาสมทบมากขึ้นเรื่อยๆ มากกว่าครึ่งเป็นชาวจีน ทางบริษัททัวร์ก็ได้กางเต๊นท์ห้องอาหารไว้สองแห่ง เต๊นท์ใหญ่สำหรับชาวจีน เต๊นท์เล็กนานาชาติ เต๊นท์กลางเป็นคาเฟ่


5. การหมุนไปสู่ระดับที่สูงขึ้นและต่ำกว่าสำหรับการยอมรับการขาดออกซิเจน

กว่าที่ดิฉันจะได้เริ่มโรเตชั่น (rotation) ก็ 25 เมษายน ค่ะ ซึ่งถือว่าช้าเมื่อเทียบกับปีอื่นๆ ทั้งความก้าวหน้าของการตรึงเชือก (fixed rope) ความเร็วลมสูง หิมะตกหนัก (ดิฉัน, ราฟ, แนนซี่, เจส ขึ้นลงพร้อมๆ กัน) ดิฉันอยู่แคมป์ 1 หนึ่งคืน แคมป์ 2 อีกสามคืน ระหว่างนี้ก็จะปีนไปปรับตัวที่หน้าโลตเซ่ (Lhotse Face, 6500 m) และกลับมาที่เบสแคมป์ 29 เมษายน
หลังจากการโรเตชั่น นักปีนต่างชาติมักลงไปที่แอลติจูดต่ำเพื่อให้ร่างกายเกิดการฟื้นตัวจากภาวะขาดออกซิเจน เทรนด์ในปัจจุบันรวมถึงการนั่งเฮลิคอปเตอร์ไปนัมเช บาซาร์ ลุคลา หรือแม้กระทั่งกาฐมาณฑุ ตัวดิฉันเองอยากจะอยู่ที่เบสแคมป์มากกว่า (ไม่อยากเสียเงินเพิ่ม เบสแคมป์ก็อยู่สบายดี) และอยากจะฝึกร่างกายต่อโดยการเดินเขาขึ้นพูโมรี ไฮ แคมป์ (Pumori High Camp ~5700 m) แต่แล้วก็ติดไข้หวัดที่ระบาดอยู่ในเบสแคมป์ (และแคมป์ 2) ในขณะนั้น มีไข้สูง อ่อนเพลีย จึงตัดสินใจเดินทางไปพักที่กาฐมาณฑุโดยเฮลิคอปเตอร์และเที่ยวบินพานิชจากลุคลา
Isolate ตัวเองในโรงแรม Yambu Hotel โดยมีเจ้าของโรงแรม คุณ Raj Bhatta และป้าหนึ่ง Prince Rambowส่งข้าวส่งน้ำ มาเคาะดูเช็คว่ามัณฑนาไม่ออกจากห้อง..นี่มันตายหรือยัง?
พอเริ่มฟื้นตัวก็ซ้อนมอเตอร์ไซค์ป้าหนึ่งตระเวนกินอาหารไทยซะให้หายอยาก ส้มตำ (กินทุกมื้อ) ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ ข้าผัด ผัดกระเพา ผัดไทย
ไม่กล้าอยู่กาฐมาณฑุนานค่ะ กลัวจะเสียการปรับตัว (acclimatization) ก็รีบเดินทางกลับกับราฟ (นักปีนชื่อดังชาวเยอรมัน) ที่เป็นไข้หวัดเหมือนกันโดยเฮลิคอปเตอร์ โดยคราวนี้เราลงที่หมู่บ้านดิงโบเช (Dingboche, 4400 m) แล้วเดินขึ้นเบสแคมป์ภายใน 2 วัน


6. ค่ายฐาน: สภาพอากาศบ้าคลั่งกำลังปิดกั้นทุกคนที่นั่น

ที่เบสแคมป์ทีมที่ขึ้นไปตรึงเชือกสำหรับการปีนเขายังไม่สามารถตรึงเชือกได้สำเร็จจากสภาพอากาศหนาวจัด ลมแรง หิมะตกทุกวัน แต่ก็มีนักปีนหลายท่านที่ขึ้นไปรอบนแคมป์สูงแล้ว เพื่อรอปีนหลังจากการตรึงเชือกสำเร็จ
พวกที่แกร่วอยู่เบสแคมป์คือยังไม่ถึงคิวขึ้น มีเพื่อนนักปีนจากแคมป์อื่นก็มาเยี่ยม และเล่าสถานการณ์ขาดแคลนเชอร์ปาในทีมอื่นๆ ให้ฟัง
ในทีมใหญ่ของเราสามารถนำลูกค้าขึ้นได้แค่ครั้งละ 6 คนเท่านั้น และไม่ได้ออกตัวกันทุกวัน จากลูกค้าประมาณ 40 คน ดิฉันก็เฝ้าแต่รอว่าเมื่อไหร่จะถึงคิว ระหว่างนี้จึงออกไปเดินเขาโดยมีจุดหมายคือพูโมรี ไฮ แคมป์ ซึ่งเป็นจุดที่มองเห็นยอดเขาเอเวอเรสต์ และขึ้นไปถึง 5 ครั้งในปีนี้…..ไม่ถึงคิวดิฉันเสียที


7. ค่ายฐาน: สภาพอากาศเลวร้ายที่กระตุ้นอาการบวมเป็นฟองและการบาดเจ็บมากขึ้น

ด้วยสภาพอากาศอันเลวร้าย ทำให้มีนักปีนถูกอันตรายจากความเย็นจัด (Frostbite) จำนวนมาก และมีนักปีนเสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง ทำเอาเพื่อนร่วมทีมบางคนถึงกับขวัญหนีดีฝ่อ รพ. ในเบสแคมป์เต็มไปด้วยคนป่วย มีการอพยพผู้บาดเจ็บทางอากาศจากทั้งแคมป์สูงและเบสแคมป์มากกว่าปีใดๆ (มากกว่า 200 เที่ยวบินเหนือเบาแคมป์)


8. ฐานฐาน: ช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่: เริ่มต้นด้วยเชอร์ปาเพื่อปีนขึ้นไปที่ "ค่าย 1" - ถุงนอนและเตียงนอน

บ่ายวันหนึ่งเจ้าของบริษัททัวร์ก็มาบอกดิฉันว่า “พรุ่งนี้เธอขึ้นนะ เป็นทีมสุดท้ายของเราในปีนี้ ไปเก็บของซะ” ง่ายๆ แบบนั้นเลย โอเค…ฉันบ่ยั่นดอก โดยที่ไม่รู้ว่าจะปีนคู่กับเชอร์ปาคนไหน
เช้ามืดของวันที่ 20 พฤษภาคม ลูกค้ากับเชอร์ปาจับคู่กัน ดิฉันกับอัง ริต้า ต่อไปนี้จะขอเรียกว่าพ่อครัว (นักปีนคนอื่นที่ออกพร้อมกันได้แก่ ราฟ, ราช, แมรี่เบธ, คนจีนอีก 2 คน)
เมื่อดิฉันถึงแคมป์ 1 ปรากฏว่าถุงนอนกับแผ่นรองนอนของดิฉันหายไปจากเต๊นท์ (ฝากไว้ในเต๊นท์จะได้ไม่ต้องแบกลงให้หนัก) แคมป์ 1 (6000 m) บนเอเวอเรสต์คือความหนาวจัดบนหิมะ ท้องฟ้าเริ่มมืด ดิฉันนั่งอยู่บนพื้นเย็นเฉียบแล้วน้ำตามันก็ไหลออกมาเอง ไหนจะต้องรอแล้วรออีกแบบแทบไม่มีความหวัง พอขึ้นมาที่นอนก็หาย แล้วพ่อครัวยังเอาถุงใส่ครีมกันแดด ผ้าอนามัย ทิชชู่ แปรงสีฟันของดิฉันใส่เฮลิคอปเตอร์ขึ้นไปแคมป์ 2 อีก คืนนี้คือ….ไม่เหลืออะไรเลยตั๊วหนิฮึ!
พ่อครัวก็เอาถุงมือที่ใส่ปีนมาซับน้ำตาดิฉัน “อย่าร้องให้เลยมัณฑนา” เฮ้ย…ฉันไม่ได้ถูกฝึกมาให้แกร่งเบอร์นี้ น้ำตาไหลบ่ายังกะเขื่อนแตก เป็นน้ำตาแบบธรรมชาติ พ่อครัวก็ไปค้นตามเต๊นท์รอบๆ ปรากฎว่าคนจีนคนหนึ่งเอาไป กว่าพ่อครัวจะต่อรองเอาคืนมาได้ก็นานโข อิหยังเดสก๊ะมาก!


9. ค่าย 1: ปีนเขาสำหรับ "Camp 2" ในระดับ 6300ม. เหนือระดับน้ำทะเล

21 พฤษภาคม สมาชิกลูกทัวร์ (ยกเว้นราฟที่ล่วงหน้าไปแล้ว) รวมตัวกันไม่กินอาหารเช้า เพราะไม่มีอะไรให้กินแล้วออกเดินทางขึ้นสู่แคมป์ 2 ผ่านเวสเทิร์น คูม (Western Cwm) เจ้าของบริษัทก็วิทยุมา บอกใครใช้เวลาเกิน 4 ชั่วโมงไม่ถึงแคมป์ 2 จะไม่ให้ไปต่อ ดิฉันกับพ่อครัวก็จ้ำอ้าวกันหน้าตั้ง เหนื่อยๆ หยุดๆ แต่ไม่กล้าหยุดนานเพราะกลัวถูกคัทออฟ พ่อครัวก็ยังไม่เคยปีนเหนือแคมป์ 2 แต่ปีนี้บริษัทจะให้นางฝึกปีนปีนี้


10. ค่าย 2: เตรียมค่าย 3 - พบกับคู่มือไปด้านบน
คู่มือ = pinju Sherpa 1 = พ่อครัว Sherpa 2 = Cherby เชอร์ปา 3 = ปลาปลา

ถึงแคมป์ 2 (6300 m) พ่อครัวหอบแฮ่กๆ วางกระเป๋าแล้วเข้าครัวไปทำอาหารต่อเฉยเลย (ตอนนั้นแล่ะถึงรู้ว่านางเป็นพ่อครัว ไม่ใช่เชอร์ปานักปีน) (พ่อครัวแคมป์สูงบริษัทนี้ต้องปีนยอด) ดิฉันก็โล่งอกพ้นคัทออฟ ตามแผนเดิมเราจะพักที่นี่ 2 คืนเพื่อพักร่าง สักพักจข.บริษัทก็วิทยุมาบอกว่าพรุ่งนี้ขึ้นแคมป์ 3 ไปเลยนะ โอเค นัมบาร์วัน!
เช้า 22 พฤษภาคม มีการจับคู่กับไกด์ตัวจริงที่จะพาขึ้นยอดและทดสอบอุปกรณ์ให้ออกซิเจน ไกด์ของดิฉันคือพินจู และจะมีเชอร์ปาช่วยอีกคนคือเชอร์บี้ (ชื่อสมมติ) พ่อครัวก็จะขึ้นกันเองกับพ่อครัวอีกคน เราเดินทางต่อบนธารน้ำแข็งส่วนค่อนข้างราบเรียกว่าเวสเทิร์นคุมจนมาถึงหน้าโลตเซ่ (6500 m) ซึ่งเป็นกำแพงน้ำแข็งซึ่งบางครั้งมีความชันถึง 80 องศา ปีนขึ้นมาที่แคมป์ 3 (7300 m) พินจูกับดิฉันขึ้นมาถึงเป็นคู่แรก เชอร์บี้ตามมาทีหลัง เราสามคนนอนในเต๊นท์ด้วยกันตั้งแต่หลังอาหารมื้อบ่ายเพื่อเก็บแรง โดยมีแผนการจะออกปีนตั้งแต่ 4.00 น. ในเช้าวันถัดไป
23 พฤษภาคม ภายนอกยังมืดมิด ได้ยินเสียงฉับๆ ของแครมปอนของนักปีนท่านอื่นผ่านเต๊นท์เราไปตั้งแต่ช่วงตี 2 พินจูตื่นประมาณตี 4 ซึ่งช้ากว่าที่เราตกลงกันไว้ ทีมเราคนอื่นๆ ปีนผ่านเต๊นท์เราไปแล้ว พินจูพยายามจุดไฟทำอาหาร แต่ไม่สามารถทำได้ เชอร์บี้ก็อยู่ในอาการอ่อนเพลียและไม่ยอมออกมาจากถุงนอน สุดท้ายพินจูก็โยนทุกอย่างทิ้งแล้วเปิดออกซิเจนปริมาณสูงดมและทิ้งตัวลงนอน เขาป่วยนั่นเอง (ได้แต่คิดในใจ ชห แระ!)
ประมาณ 8.35 น. จข. บริษัทก็มาที่เต๊นท์ หาเชอร์ปาใหม่มาให้ ไม่รู้ไปหามาจากไหน สมมติว่าชื่อลูกปลาแล้วกัน ไอ้เรานี่ก็แนะนำตัว “ชื่อมัณฑนานะ ฉันอาจจะต้องให้เธอช่วย place พวก climbing gear บางครั้ง” พูดไม่ทันจบประโยค ลูกปลาก็สวนแบบขึ้นเสียง “แค่ place gear ยังไม่ได้จะมาปีนเอเวอเรสต์ทำไม บลาๆๆ” ก็ปล่อยนางพูดไป ส่วนเชอร์บี้ก็ค่อยๆคลานออกมาจากถุงนอนแบบอ้อแอ้ๆ เราก็เริ่มปีนขึ้น และสิ่งที่เกิดขึ้นคือลูกปลานี่ก็ไม่ได้ช่วยดิฉันปีนหรอก เพราะนางช้ามาก อยู่ใต้เราประมาณ 3 เชือก (ประมาณ 100 เมตร) ส่วนเชอร์บี้ 1 อยู่ใต้ดิฉัน 1 เชือก


11. ปีนเขาไปที่ค่าย 4 (ใต้ Col) บน 7900ม. เหนือระดับน้ำทะเล - ศพในถุงนอนระหว่างทาง - และหน้าผาในเมฆ

>เมื่อปีนผ่านแคมป์ 4 ของ Lhotse เส้นทางจากแนวดิ่งก็กลายเป็น traverse ไปทางซ้าย เบื้องหน้าดิฉันมีกลุ่มคน 7-8 คน กำลังลำเลียงอะไรบางอย่างลงมาตามระบบ fixed rope ส่งเสียงแกร๊งๆ เมื่อกระทบกับผาหิน เมื่อเข้าใกล้จึงเห็นว่าเป็นถุงนอนบรรจุร่างคน แขนสองข้างลู่ขึ้นตามหิมะ มือทั้งสองเปล่าเปลือยและเป็นสีม่วงเข้ม เขาไม่มีความเจ็บปวดอีกแล้วแม้ว่าจะถูกลากผ่านหินแหลมหรือหิมะ เสียงแกร๊งๆ คงเป็นเสียงถังออกซิเจน (จำนวนหลายใบ) ที่ห่อมาในถุงนอนนั่นเอง แม้จะคุ้นเคยกับศพและคนตายมามาก แต่ก็เป็นครั้งแรกที่ดิฉันเห็นศพนักปีนเขาที่เพิ่งเสียชีวิตไม่นานนัก ใจเสียมากๆ
>ขึ้นมาถึง South Col เป็นที่ตั้งของแคมป์ 4 (7900 m) ประมาณ 17.35 น เห็นยอดพีรามิดดำตั้งตระหง่านท้าลม หมู่เมฆปะทะกับหินผาแล้วม้วนตัวแตกออกน่าสะพรึงกลัว จุดแดงส้มเล็กๆ ด้านบนคือนักปีนที่กำลังกลับลงมาที่แคมป์ 4 ส่วนด้านหลังพบว่าคนที่ตามหลังเรามาติดๆ เป็นพวกที่ออกตั้งแต่ตี 4 ของบ. ที่เราใช้บริการ แปลว่าพวกเรานักปีนสมัครเล่นทั้งหมดจะไม่ปีนต่อไปซัมมิตในคืนนี้ เพราะเวลาพักน้อยไป จึงวางแผนจะขึ้นในค่ำวันต่อไป
>ไม่มีเต๊นท์ให้ดิฉันที่ South Col! ลูกปลาที่ตามมาทีหลังก็พยายามหาเต๊นท์ที่บริษัทกางไว้ แต่ปรากฏว่าเต๊นท์มีคนอยู่ทั้งหมด แกร๊!…ปล่อยฉันยืนตากลมตอนที่ดวงอาทิตย์ตกไปแล้วที่ Dead Zone เนี่ยนะ สุดท้ายหาเต๊นท์ไม่ได้ ต้องไปอัด 4 คนกับราชและเชอร์ปาของราช ส่วนเชอร์บี้ไม่รู้ไปสิงเต๊นท์ไหน
>ลูกปลาก็เริ่มหัวร้อนมีปากเสียงกับราช โดยลูกปลาตะโกนโวยวาย แต่ราชไม่ได้โต้ตอบโดยใช้อารมณ์หรือน้ำเสียงเลย


12. ปีนเขาในตอนกลางคืน - การอภิปรายเกี่ยวกับการวางที่อบอุ่น

>24 พฤษภาคม ช่วงค่ำเราเริ่มปีนจากแคมป์ 4 ซึ่งเส้นทางแทบจะเป็นผาหิมะแนวตั้ง (ปีก่อนเป็นน้ำแข็ง) เลยระดับ 8200 เมตรที่เป็นจุดมืดบอดในใจของดิฉันมาแล้ว จนกระทั้งประมาณ 8300 เมตร ดิฉันขอถุงแปะร้อนจากลูกปลา (โดยปกติเชอร์ปาจะช่วยแบกน้ำหนักบางส่วน ได้แก่กระบอกเครื่องดื่ม และของจิปาถะ) ลูกปลากลับบอกว่า “ปีนไปเฉยๆ ไม่ต้องเรื่องมากไม่ได้หรือไง” ในอาการกระฟัดกระเฟียดมาก ดิฉันยืนยันว่าจะใช่ถุงร้อน เพราะที่เตรียมมาคือจะแปะหน้าอก แปะท้อง แปะหลัง และใส่ในถุงมือ ลูกปลาก็ขึ้นเสียงกระโชกโฮกฮาก บอกว่าถ้าอยากใช้มากนักก็กลับลงไปเอาเลย เพราะลูกปลาโยนทิ้งตั้งแต่ที่แคมป์ 4 แล้ว ดิฉันคำนวณเวลาและแรงแล้วเกรงว่าจะปีนไม่ทันระยะความปลอดภัย จึงพยายามปีนต่อโดยกระดิกนิ้วมือและนิ้วเท้าเพื่อสร้างความอบอุ่นที่ส่งนปลาย แต่ก็รู้สึกได้ว่าแม้แต่อุณหภูมิแกนกลางตกลงบ้างแล้ว
>อยู่ๆ ลูกปลาก็หายไป กลายเป็นเชอร์บี้ที่มาปีนหน้าดิฉัน แต่เชอร์บี้ก็ปีนได้ช้ามากและออกอาการเหนื่อยล้า (ไม่รู้ว่าเหนื่อยจริงหรือ…เปล่า) พี่ดาว่า เท็นจิน ที่เป็นหัวหน้าเชอร์ปาเป็นคนเปลี่ยนถังออกซิเจนให้ดิฉันและป้าคนจีนที่ใต้ต่อบัลโคนี่ (Balcony) แล้วเชอร์บี้ก็หายไปเลย
>หลังตากนั้นสักพักฉันเลยถามเชอร์ปาในทีมว่าลูกปลากับเชอร์บี้หายไปไหน เผื่อฉันต้องการความช่วยเหลือ ตอนนี้มีแต่เชอร์ปาของคนอื่น เขาบอกว่าลูกปลามันลงไปตั้งนานแล้ว เชอร์บี้ก็พึ่งลง สรุปฉันเหลือตัวคนเดียวมาสักพักแต่เพิ่งรู้ตัว (ยืนกำเชือกแบบช็อคๆ บนกำแพงหิมะ 8450 เมตร)
>มันอันตรายมากที่นักปีนสมัครเล่นจะปีนโดยไม่มีเชอร์ปาซัพพอร์ต ดิฉันเริ่มลังเล น้ำดื่มก็ฝากลูกปลาไว้ ตอนนี้เหลือเจลพลังงานแต่ 3 ซองในกระเป๋าเสื้อ กับขนมนิดหน่อย นักปีนบางคนในทีมถอนตัวลงไปแล้วเพราะลมจากเ้านซ้ายทั้งหนาวรุนแรงและพัดเอาผลึกหิมะมากระแทกเกือบจะตลอดเวลา ลูกค้าคนจีนของพี่ดาว่าก็ช้าลงมากขนเริ่มทิ้งระยะห่าง แต่แล้ว…พ่อครัวก็โผล่มาจากด้านล่าง นางบอกว่าเด๋วนางปีนเป็นเพื่อนนางมัณฑนาเอง
>สองนางที่ไม่เคยปีนเอเวอเรสต์เลนตกลงจะไปด้วยกัน โดยมีพ่อครัวนำหน้าแบบงงๆ หมายถึงนางก็งงทาง แต่เราก็เลือกที่จะเชื่อ fixed rope อย่างเต็มใจเพราะไม่มีทางเลือกอื่น


13. มาถึงการประชุมสุดยอดทางใต้ในระดับ 8690ม. เหนือระดับน้ำทะเล

>เวลาเชื่องช้าเสมือนชั่วกัปชั่วกัลป์ แต่เมื่อขอบฟ้าด้านขวากลายเป็นสีเขียว ดิฉันก็เริ่มมีกำลังใจ อีกไม่นานก็จะเช้า อากาศคงอุ่นขึ้นบ้าง ดิฉันกับพ่อครัวหยุดยืนพักดื่มชาดำ (ของพ่อครัว) กันที่ใต้ต่อ South Summit (8690 m) และชื่นชมขอบฟ้าด้านล่าง เมฆสีเขียวมองดีๆ แล้วส่องประกายเป็นอีกหลายสี ทั้งสีส้ม ม่วง น้ำเงิน แดง และนั่นคือการดื่มน้ำครั้งแรกและครั้งสุดท้ายของดิฉันเหนือ South Col


14. หน้า "ฮิลลารีสเต็ป" (เมื่อ 8790ม. เหนือระดับน้ำทะเล): การสนทนาครั้งใหญ่เมื่อปีนขึ้นไปบนส่วนสุดท้ายของ เขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest)



เสริม: ฮิลลารีสเต็ป - หน้าหินสูง 12 เมตร
จาก Mossad Wikipedia: https://de.wikipedia.org/wiki/Hillary_Step

บันไดฮิลลารีเป็นขั้นบันไดหินสูงประมาณ 12 เมตร ชันกว่า 70 องศา ตั้งอยู่บนสันเขายอดเขาเอเวอเรสต์ทางตะวันออกเฉียงใต้ที่ความสูง 8790 เมตรเหนือระดับน้ําทะเล [1]ขั้นตอนนี้ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เซอร์เอ็ดมันด์ฮิลลารีผู้ซึ่งปีนบันไดสูงชันนี้เป็นครั้งแรกกับเพื่อนร่วมทีมของเขา Tenzing Norgay ในการขึ้นครั้งแรกในปี 1953


>เมื่อเรามายืนอยู่ต่อหน้าบันใดหินฮิลารี่ (Hillary Step) ดวงอาทิตย์ลอยเหนือหมู่เมฆทางด้านขวาแล้ว ดิฉันจำมันได้จากลักษณะที่เป็นสามเหลี่ยม แต่มันไม่เหมือนในภาพถ่ายชื่อดังของ Nims Dai ที่มีนักปีนต่อคิวกัน มันว่างเปล่า
>”ดูนั่นสิมัณฑนา ตรงนั้นมีคนตาย ฉันไม่กล้าไปต่อแล้ว เราลงกันเถอะ” พ่อครัวชี้ไปที่ซอกของฮิลลารี่ สเต็ป แม้ตาของดิฉันจะเห็นไม่ชัดนักแต่ดูออกว่ามีคนในชุดดาวน์สูทสีส้มเหลืองนั่งกอดเข่าอยู่ตรงนั้นแน่ๆ แม้ฉันจะโน้มน้าวพ่อครัวอย่างไรนางก็ไม่ยอมไปต่อ ทั้งๆที่เราจะถึงยอดซัมมิตอยู่แล้ว ภายในไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง
>หลังจากต่อล้อต่อเถียงกับพ่อครัวอยู่นานสองนาน ดิฉันก็จำใจปีนกลับลงมากับพ่อครัว ลงมาได้สักพักก็เจอพี่ดาว่า เท็นจิน ดาว่า คามี่ ที่พาลูกค้าป้าคนจีนขึ้นมา ดิฉันจึงขอร้องพี่ดาว่า คามี่ ขอปีนตามขึ้นไป แต่ไม่ต้องดูแลฉัน ขอฉันตามไปก็พอ พี่ดาว่า เท็นจินตกลง


15. ปีนเขา "ฮิลลารีก้าว" - ดวงตากลายเป็นคนเลว - นักปีนเขาจากความหิวโดยไม่มีถุงมือและไม่มีออกซิเจนจะตายที่นั่น

>ที่ฮิลลารี่ สเต็ป ดิฉันปีนผ่านร่างที่นั่งคุดคู้เหมือนศพ ปรากฏว่าคนคนนั่นยังมีชีวิตอยู่ การมองเห็นของดิฉันแย่ลงเหมือนมีฝ้าคลุม แต่ดูออกว่าเป็นผู้ชายยุโรปนั่งสั่นและบ่นเป็นภาษาที่ดิฉันไม่เข้าใจ เขาไม่ได้ใส่ถุงมือ ผิวหนังกลายเป็นสีเหลืองซีด ไม่ได้คลิปฮาร์เนสส (เข็มขัดปีน) เข้ากับ fixed rope พอดิฉันปีนเข้าไปใกล้เขาก็หันขวับมา “เธอก้าวระวังหน่อยสิ อย่าเอาแครมปอนมาเกี่ยวมือฉันเชียวนะ” เขากล่าวออกมาเป็นภาษาอังกฤษ ทราบทีหลังว่าชายผู้นั้นคือ Szilárd Suhajda นักปีนเขาชาวฮังการี่ที่พยายามปีนยอดเขาเอเวอเรสต์โดยไม่ใช้ออกซิเจนและไม่ทีเชิร์ปาซัพพอร์ต และนั่นคือครั้งสุดท้ายที่มีใครเห็นนักปีนคนนี้ เชอร์ปาในทีมเราเชื่อว่าเขาน่าจะตกลงไปจากบริเวณที่นั่งอยู่
>ตาของดิฉันเริ่มไม่สามารถแยกความแจกต่างของสีขาวได้ ทุกอย่างที่เป็นสีขาวก็กลืนกันไปหมด คิดว่าเป็นจากแว่นก๊อกเกิ้ลมีผลคกน้ำอข็งเกาะ เช็ดอย่างไรก็ไม่ออก แม้จะเปลีายนไปใส่แว่นของพี่ดาว่า เท็นจิน ก็ยังมองไม่เห็น คราวนี้พี่ดาว่าก็ปีนช้าลงเพราะต้องช่วยป้าคนจีนที่ช้าลงเรื่อยๆ ดิฉันเริ่มรู้สึกว่าความฝันทีาจะไปให้ถึงยอดเอเวอเรสต์ในปีนี้ควเป็นไปไม่ได้แล้ว ในเมื่อไม่เห็นแท้แต่ทางปีน
>และแล้วสุมาน กูรุง ช่างภาพภูเขาชื่อดังก็โผล่มาด้านหลังดิฉัน “ฉันมองอะไรแทบไม่เห็นแล้วสุมาน” “ส่งมือเธอมา ฉันจะพาไปขึ้นยอดเอง” สุมาน กูรุง นอกจากจะถ่ายวิดิโอ บินโดรนบนยอดเขาแล้ว เขายังชอบการฟิกเชือกเป็นชีวิตจิตใจ ในปีนี้เขาก็เป็นทีมฟิกเชือกไปจนถึงยอดเขาเอเวอเรสต์ เขารู้ทางดี
>สุมาน กูรุงด้านหน้ากลายเป็นจุดสีแดงมัวๆอยู่ด้านหน้า มือซ้ายของดิฉันอยู่ในมือของเขา “นั่นแน่มัณฑนา ยอดเขาเอเวอเรสต์ เธอยังมองเห็นอยู่มั๊ย” “เห็น” ดิฉันเห็นเพียงสามเหลี่ยมสีขาว มีสีฟ้าอ่อนอยู่รอบๆ ภายในไม่ถึง 15 นาที สุมานกูนึงประกาศ “เรามาถึงยอดเขาแล้ว” ดิฉันที่แทบจะเกาะอะไรไม่อยู่เพราะมองไม่เห็นและหงายไปหงายมา นายสุมานจับฮาร์เนสสของดิฉันคลิปเข้ากับหมุดที่จุดยอด “เธอมานั่งตรงนี้”


16. บนจุดสูงสุดของ เขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest)

>มันคือ 8848.86 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลมาตรฐาน จุดที่สูงที่สุดในโลก แม้จะมาถึงด้วยความทุลักทุเลและด้วยเทคโนโลยี กระป๋องออกซิเจน เชอร์ปาซัพพอร์ต และเชิร์ปาที่หนีไป ดิฉันน้ำตาไหลออกมา “เธอจะร้องให้ทำไมเนี่ย” “ฉันจะทำให้พ่อภูมิใจ…รอให้เขารู้ซะก่อนเถอะ” นายสุมานวิทยุลงไปที่เบสแคมป์ แจ้งว่า “สุมาน กูรุง และ มัณฑนา ถวิลไพร ถึงยอดเขาแล้ว ณ เวลานี้ รวม 2 คน ณ เวลานี้”
>”เฮ่ เดีายวก่อนสิ พวกนายจะถึงกันแค่ 2 คนไม่ได้ ต้องนับฉันด้วย ต้องเป็น 3 คน ถึงพร้อมกัน” พ่อครัวที่ปีนตามขึ้นมาทีหลังตะโกน (ดิฉันพึ่งรู้ว่าพ่อครัวปีนตามขึ้นมา นึกว่าลงไปตั้งแต่ฮิลลารี่ เสต็ป)
>”ตกลง ตกลง ณ เวลานี้ สุมาน กูรุง, มัณฑนา ถวิลไพร, อัง ริต้า เชอร์ปา ถึงยอดเขาในเวลาเดียวกันจำนวน 3 คน” กลายเป็นเวลาที่บันทึกไว้คือ 8 นาฬิกา 15 นาที ตามเวลาท้องถิ่นประเทศเนปาลซึ่งช้ากว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง 15 นาที
>iphone และ gopro ของดิฉันดับไปแล้ว จึงมีเพียงภาพจากนายสุมาน กูรุง ในภาพจะเห็นว่าพ่อครัวไม่ได้ขึ้นมาที่จุดซัมมิต แต่หยุดอยู่ประมาณ 4 ก้าวจากจุดซัมมิต ดิฉันก็ไม่เข้าใจว่าทำไมไม่เดินขึ้นมาแค่อีก 4 ก้าว นางจะลงอย่างเดียวเลย พอชักภาพเสร็จนางก็ลงเลย คนอะไรเนี่ยยยยยยย?


17. ลงเขาด้วยหมอกเพียงดวงตา

>ดิฉันใช้มือซ้ายรูดเชือกเดินตามพ่อครัวไป โดยต้องตั้งใจมองอย่างละเอียดว่าพ่อครัววางเท้าที่ตรงไหน เพราะตอนนี้ตาของดิฉันแยกสีขาวไม่ได้แล้ว เห็นคนเป็นแค่วงกลมตามสีชุดที่ใส่ จนเมื่อลงพ้นฮิลลารี่ เสต็ป ดิฉันก็มักจะล้มและไถลลงไปตามสโลปหิมะ (ยังมีเชือกคลิปไว้อยู่)
>สถานการณ์ส่อแววเลวร้าย ดิฉันใช้ความกล้าที่มีอยู่สารภาพกับพ่อครัวว่า “ฉันคงมีสภาวะ snow blindness ฉันแทบจะมองไม่เห็นอะไรแล้ว ถ้าไม่ลงด้วย rappelling technique จะลงไม่ทันค่ำแน่ะๆ” นั่นหมายถึงดิฉันจะตาย หรือถูกทิ้งให้ตายอยู่บนนี้ เหมือนที่พบได้บ่อยๆในการปีนเขาสูง หรืออาจหลุดจากเชือก หลงทาง ตกลงไปตาย ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือ
>พ่อครัวตกลงที่จะช่วยดิฉันลงด้วยการแรพเพล โดยพ่อครัวจะเซ็ตเชือกและอุปกรณ์ปีนให้ดิฉัน ก่อนที่ดิฉันจะใต่ลงไปเอง และจะเป็นแบบนี้เมื่อเราเริ่มเชือกใหม่ ดิฉันเริ่มแยกเส้นเชือกขริงกับเงาของเส้นเชือกไม่ได้แล้ว การลงกินเวลานานกว่าปกติมาก ที่จริงแล้วไม่ใช่แค่พ่อครัวที่คอยช่วยเหลือดิฉัน แต่ยังมี Sensai Pema Waiba เซนไซ เวป้า, สุมาน กูรุง, ดาว่า คามี่ เชอร์ปา, ดาว่า เท็นจิน เชอร์ปา ที่คอยช่วยเหลือเป็นระยะ โดยเฉพาะ เซนไซ เวป้า ที่เป็นผู้กำกับวิดิโอบนที่สูง ในบางครั้งที่เดินได้ เขาจะให้ดิฉันเกาะกระเป๋าเป้สีเหลืองของเขาเดินไป ขอประกาศเกียรติคุณของมนุษย์เหล่านี้ที่ทำให้ดิฉันยังมีชีวิตอยู่ แม้จะต้องเสี่ยงแลกด้วยชีวิตของตัวเอง ด้วยออกซิเจนจำกัด ต้องแข่งกับเวลาในเขตุแดนของความตาย


18. มอนแทนายังคงเป็นคนตาบอดหิมะ - บนเชือก - ที่ค่าย 4 (ใต้คอล) - คนอื่น ๆ ลงไปเร็วขึ้น - ตรวจพบอาการบวมเป็นน้ำเหลืองบนนิ้วเท้า - เฮลิคอปเตอร์จัดขึ้นในวันถัดไป

>คนที่อยู่กับดิฉันตลอดก็จะมีพ่อครัวนี่แล่ะค่ะ สุดท้ายก็เหลือกันสองคน ในความเงียบ ในความกลัวที่เราไม่บอกกัน อากาศเย็นลงอีกเพราะดวงอาทิตย์ใกล้จะลับขอบเขาในฝั่งเนปาล
“เธอเห็นนั่นไหม เรารอดแล้ว”
“ไม่เห็นอะไรแล้ว” องศาการวางเท้าจากทิ่มลงในแนวดิ่งกลายเป็นแนวป้าน ถ้าเดาไม่ผิดเราน่าจะมาถึงเนินหิมะสองร้อยกว่าเมตรสุดท้ายเหนือ South Col
>ดิฉันเดาไม่ผิด หลังจากนั้นไม่มี fixed rope แล้ว ดิฉันเดินลงเนิยหิมะอย่างสะบายอารมณ์โดยผูกเชือกสั่นตรึงกับพ่อครัวด้านหน้า (short roping) “คืนนี้ฉันจะดูแลเธอเอง” พ่อครัวว่า ดิฉันก็ไม่อยากแชร์เต๊นท์กับลูกปลาแล้วเหมือนกัน
>ที่แคมป์ 4 ไม่มีวี่แววของทั้งลูกปลาและเชอร์บี้ พวกเขาเก็บของและลงไปกันหมดแล้ว พ่อครัวเลยย้ายมาอยู่ที่เต๊นท์เก่าของดิฉัน ที่วันก่อนเราต้องอัดกัน 4 คน กับข้าวของและถังออกซิเจน พ่อครัวทำอาหารที่เหลืออยู่ มีซุปผงกับชาดำใส่น้ำตาล ดิฉันรู้สึกกระหายเหลือเกิน
>พ่อครัวบอกให้ถอดถุงเท้าเช็คดูเท้าหน่อยว่ามี frostbite บ้างหรือเปล่า (เนื้อเยื่อถูกทำลายเพราะความเย็นจัด) ปรากฏว่านิ้วเท้าทั้งสิบของดิฉันเป็นสีดำคล้ำ เอาแล้วสิ! Frostbite ของจริง!
>พ่อครัววิทยุลงไปบอกเบสแคมป์เพื่อจอให้ส่งเฮลิคอปเตอร์มา rescue ที่แคมป์สูง แน่นอนเรารู้ดีว่าเฮลิคอปเตอร์ลงจอดได้แค่ที่แคมป์ 2 และสามารถทำ long-line rescue ได้ที่แคมป์ 3 บริษัทประกันของดิฉันตกลงจัส่ง long-line rescue ที่แคมป์ 3 ในวันรุ่งขึ้น


19. มอนแทนายังคงเป็นคนตาบอดหิมะ - ลงไปที่ค่าย 3 บนเชือกด้วยความช่วยเหลือ - จากนั้นไปค่าย 2 - เฮลิคอปเตอร์สองแห่งไปโรงพยาบาลลุค

>เช้าวันต่อมาพี่ดาว่า เกลเจ้น เชอร์ปาที่มีประสบการณ์สูงมาเปลี่ยนตัวกับพ่อครัว ให้พ่อครัวพาลูกค้าจีนอีกคนลงแทน และพี่เกลเจ้นจะจัดการดิฉันเอง ดิฉันยังคงมองไม่เห็น แยกสีขาวไม่ได้ และยังเริ่มมีอาการปวดที่เท้า พี่เกลเจ้นจึงต้องคอยนำทางดิฉัน traverse อย่างใกล้ชิด และช่วยดิฉันลงแบบ rappelling
>ระหว่างทางพบศพถูกแขวนไว้กับ fixed rope ในแนวดิ่ง เป็นภาพที่สะเทือนใจมาก ในภูเขาอันอ้างว้าง ลมพัดหิมะโปรยปราย ใครคนหนึ่งถูกห้อยไว้เดียวดายในชุดปีนสีส้มและรองเท้าสีเหลืองรุ่นเดียวกันกับที่ดิฉันใส่ คงเป็นศพที่รอทีมมาเก็บกู้ภายหลัง
>พอมาถึงแคมป์ 3 บริษัทประกันก็ไม่ยอมส่ง long-line rescue มาตามตกลง แต่ให้ปีนลงไปต่อที่แคมป์ 2 เพื่อให้ ฮ. ลงจอดได้
>ดิฉันถูก rescue จากแคมป์ 2 ลงมาที่เบสแคมป์ ต่อฮ. อีกลำไปเพริเช ต่อ ฮ. อีกลำไปลุคลา ถึงลุคลาค่ำพอดี เลยค้องแอดมิตที่ รพ. ลุคลา ได้รับการรักษาเป็นครั้งแรกด้วยการจุ่มเท้าในน้ำอุ่น ให้ยาละลายลิ่มเลือด พร้อมกับข่าวร้ายที่รู้กันเป็นวงกว้างแล้วว่ายารักษา Frostbite หมดประเทศเนปาลไป 4 วันแล้ว


20. โรงพยาบาลลุค: การรักษาอาการบวมเป็นน้ำเหลืองและดวงตา - ไม่มียาแอบแฝง "Iloprost" - เที่ยวบินไปกาฐมา ณ ฑุ - และประเทศไทยโรงพยาบาล Bumrungrad และโรงพยาบาลศรีนาการินในกรุงเทพฯ

>ดิฉันถูกส่งตัวต่อไป รพ. ในกาฐมาณฑุในวันต่อไป และทราบจากรพ. ที่เชี่ยวชาญการรักษา Frostbite ว่ายาหมดประเทศจริงๆ เพราะอุบัติการ frostbite ในรพ. เพียงแห่งเดียวยังมากกว่าในฤดูปีนเอเวอเรสต์ปกติถึง 300 เท่า แนะนำให้คุณกลับประเทศหรือไปหาประเทศไหนที่เขารับรักษา เพราะต้องรีบให้ยาให้เร็วที่สุดเพื่อลดอัตราการตัดเนื้อเยื่อ
>ขอบคุณ Sorarit Kiatfuengfoo ที่อุตส่าห์จะไปซื้อยา Iloprost จากเมืองไทยแล้วขึ้นเครื่องมาส่ง แต่หมอที่เนปาลไม่ยอม ยังไงยูก็ต้องกลับประเทศ หารือกับ Sorarit และอาจารย์หมอผู้เชี่ยวชาญการใช้ iloprost แล้ว สุดท้ายเราตกลงกันว่าดิฉันจะลงเครื่องแล้วนอน ambulance ไปรพ. บำรุงราษฎร์ทันที ขอบคุณ Sorarit ที่จอง icu และดำเนินการทุกอย่างให้ smooth ยิ่งกว่า silk ยกเว้นเครื่องบินดีเลย์
>หนึ่งคืนในรพ. ที่กาฐมาณฑุ แม้จะไม่ได้รับการรักษาอย่างที่หวัง แต่เพื่อนๆ ก็แห่มาให้กำลังใจ ป้าหนึ่งสั่งอาหารไทยมาเลี้ยง Prince Rambow เพื่อนเชอร์ปา และหมอราม (นายแพทย์ราม) ที่ปีนเอเวอเรสต์ด้วยกันในปี 2022
>ดิฉันได้รับยา Iloprost ขยายหลอดเลือด 1 นาฬิกา 29 พฤษภาคม มีผลข้างเคียงทุกอย่าง ทั้งความดันตก ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อยู่ไม่สุข กระสับกระส่าย การให้ยาแต่ละครั้งนาน 8 ชั่วโมง และยายังไม่หมดฤทธิ์ในทันที เป็นช่วงเวลาที่ลำบากมาก ให้ยาหมดเช้าพอดี อาจารย์ดิวอี้-แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ทางทะเล (Maritime Medicine) ได้จัดให้ดิฉันได้รับการรักษาด้วยการบำบัดด้วยออกซิเจนความกดบรรยากาศสูง หรือ Hyperbaric Oxygen Therapy (HBOT)
>หลังจากได้ Iloprost โดสที่สอง ไม่มีความดันโลหิตตกแล้ว จึงได้รับอนุญาตจากอาจารย์เดช-แพทย์เวชบำบัดวิกฤต ให้ออกไปอยู่ห้องพิเศษได้ ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด จึงได้แจ้งกับครอบครัวว่าถึงเมืองไทยแล้ว อยู่รพ. โดยมี Sorarit มาช่วยวิดิโอคอลจาก ICU ไปคุยกับคุณพ่อและคุณแม่ให้เบาใจ
>ดิฉันได้รับการรักษาช่วงฉุกเฉินที่รพ. บำรุงราษฎร์ 5 วัน แล้วจึงย้ายมารักษาต่อที่รพ. ศรีนครินทร์ ที่ขอนแก่นบ้านเกิดค่ะ


21. กลับไปที่ญี่ปุ่น: การรักษาด้วย แอบแฝง (frostbite) ยังคงดำเนินต่อไปเพื่อประหยัดเท้า

>ปัจจุบันนี้ยังรักษาต่อเนื่องที่รพ. ศรีนครินทร์ ด้วยการบำบัดด้วยออกซิเจนแรงดันสูง ยาฉีด และยารับประทาน โดยหวังว่าจะรักษาเท้าไว้ให้ได้มากที่สุด
ที่ไม่ได้เขียนเล่าให้ทุกคนอ่านก่อนหน้านี้เพราะแขนและมือ 2 ข้างถูกแทงเป็นรูเปิดให้ยา ระหว่างให้ยามีอาการอ่อนเพลียมาก ตอนนี้ได้กลับบ้านแล้ว แต่การต้องไปรพ. ทุกวัน เข้าตู้ HBOT และทำแผลขนาดใหญ่มันเหนื่อยมากๆ เหนื่อยจนทำอะไรต่อไม่ไหว เดินเองได้ไม่กี่ก้าว ต้องใช้ walker และถ้าจะออกจากบ้านก็ wheelchair
มิตรรักชาวขอนแก่น
ขอบคุณพี่ฐา-เพื่อนคู่คิดมิตรยามยากของน้อง Thapanawong Mitsungnern
ขอบคุณอาจารย์อรรจนี มหรรฆานุเคราะห์และทีม HBOT พี่ผาสุขและพี่รุ่งตะวันที่มาทำให้แม้จะเป็นวันหยุดราชการ
ขอบคุณแผนก AE ที่อนุโลมให้มาทำแผลและฉีดยาแม้จะเป็นคนไข้เก่า พี่ PN, RN, พี่คนงานทุกท่านที่ซอยเหลือ
ขอบคุณ อ. นก ที่หายา Iloprost มาเผื่อไว้ (เกือบต้องได้ใช้) Kanokwan Sriraksa
ขอบคุณพี่เวรเปล ตอนนี้เราเดินไม่ได้ ขึ้น stretcher จากแผนกนั้นไปแผนกนี้ทุกวัน
ขอบคุณป๋าแม่ที่ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง วันชัย ถวิลไพร Ratana Tawinpai
ขอบคุณน้องกันต์ที่มาทำแผลและ debride ให้เรื่อยๆ และน้องๆ Ortho Nattaphon Twinprai
ขอบคุณ Plastic Surgery
ขอบคุณสามีแมว คุณชิมะ และลูกของเรา บักมูโตและบักมอรีสที่เป็นกำลังใจสำคัญในการดำเนินชีวิต


ขอบคุณเพื่อนๆ ที่ส่งเมสเสจและโทรมาให้กำลังใจ จากทั้งเมืองไทยและเทศ คุยแก้เหงา บางคนก็มานั่งเฝ้านอนเฝ้าขอให้ทุกคนสู้ชีวิตไปด้วยกันนะ หายแล้วไปปีนเขากันอีก Jirawan Thongbunchoo Opor Suwannakom Siwit Chern AuAire R. Ratkamon Abdur Rouf Phraewa Thatphet Jug Jun Ussahgij Kitti Boonnitrod Wanicha Srisuk Jirapat Srisuk Kanlaya Srinantawong Rtvsi Songserm Kayjay Khwanjai Giri Kewal Poon Athit Jen Felton Arbin Shakya Pattarawut Khaosanit Punnawit Suwattananun Siripong Supanpong Kit Tiphong Prasert
สรุป
-25 พค ถึงยอดเขาเอเวอเรสต์
-เย็น 25 พค พบว่ามี Frostbite ที่เท้า
-26 พค ได้รับการช่วยเหลือโดยเฮลิคอปเตอร์ลงมาที่ลุคลา รักษาที่รพ. ลุคลา
-27 พคเดินทางไปกาฐมาณฑุด้วยเฮลิคอปเตอร์ รักษาที่รพ. CIWEC
-28 พค เดินทางโดยเครื่องบินพานิชชั้นประหยัด ถึงกรุงเทพมหานคร เดินทางต่อด้วย ambulance เก๋ๆ เข้ารพ. บำรุงราษฎร์
-รับรักษาในแผนกผู้ป่วยในบำรุงราษฎร์ 5 วัน
-กลับมารกษาต่อที่ขอนแก่น
-ปัจจุบันรักษาแบบผู้ป่วยนอกที่รพ. ศรีนครินทร์
ปุลุ รูปถ่ายบางรูปมาจากปี 2022 นะคะ ปีนี้ตั้งหน้าตั้งตาปีนอย่างเดียว แทบไม่จับกล้องและ iphone [แต่ภาพถ่ายจากปี 2023 เป็นของช่างภาพ Suman Gurung].


เว็บไซต์ของช่างภาพเอเวอเรสต์ Mr. Suman Gurung: https://gurungsuman.com/







^